พ่อมูล เลี่ยมดี
ผู้ต่อสู้เพื่อป่าริมน้ำห้วยเสนง
โดย เชษฐา สง่าพันธ์
“พื้นที่ลุ่มน้ำห้วยเสนงแต่ก่อนสภาพพื้นที่ป่าจะเป็นป่าธรรมชาติน้ำลำห้วยเสนงเมื่อก่อนลึกมาก เวลาทอดแหต้องใส่เชือกดึงแหขึ้นมาลงไปเอาแหขึ้นยาก ประมาณพ.ศ. 2480 – 2484 แต่ก่อนบริเวณลุ่มน้ำห้วยเสนงจะมีป่าริมน้ำรอบด้าน บริเวณถัดจากป่าริมน้ำก็จะเป็นต้นไม้ใหญ่ เช่นต้นยางนา ต้นไผ่ พื้นที่ของพ่อมูลที่มีเขตและโฉนดประมาณ 2 ไร่ ต้นไม้ที่อยู่ในบริเวณพื้นที่ของพ่อมูลก็จะเป็นต้นไม้ที่ขึ้นเองและปลูกเสริม เช่นต้นมะม่วง ต้นมะพร้าว ต้นขี้เหล็ก” นี่คือคำบอกกล่าวจากพ่อมูล เลี่ยมดี
การใช้ประโยชน์กับพื้นที่ พ่อมูลขุดสระในพื้นที่ตนเองเลี้ยงปลา ปลานิล ปลาดุก ปลาช่อน ปลาหมอเป็นหลักและเลี้ยงวัว2 ตัว เลี้ยงควาย 3 ตัว และเลี้ยงหมู 2 ตัว ปลูกผัก มะเขือ ปลูกข้าวโพด ปลูกกล้วย และปลูกม่อน และผักค้างต่างๆ และมีป่าครอบครัวอยู่ริมน้ำ และการใช้ประโยชน์เวลามีบุญมีงานก็จะเอาปลาที่เลี้ยงไว้ขึ้นมาทำกิน และการใช้น้ำของพ่อมูล คือน้ำให้วัวกิน ควายกิน หมูกิน และรดผัก เปรียบเทียบพื้นที่กับที่อื่นที่อยู่ใกล้ๆกันที่อื่นโล่งหมด มิหนำช้ำปลูกยูคาอีก ซึ่งเป็นไม้ที่ทำให้ปลาไม่ชอบ ผลกระทบคือตรงไหนที่มีต้นยูคาใกล้สระ หนอง ปลาไม่ค่อยจะอยู่
พ่อมูล เลี่ยมดีบอกว่า การใช้ประโยชน์ของชุมชนแต่ก่อนชาวบ้านไม่มีบาดาน ไม่มีปะปา ก็ต้องอาศัยน้ำห้วยไว้ใช้และไว้กิน ในลักษณะการกินน้ำก็จะมีการคือตักน้ำจากลำห้วยกินได้เลยเพราะน้ำใส จากการใช้น้ำก็จะมีการหาอยู่หากินคือการหาปลาเมื่อก่อนหาปลา ก็จะมีแห มีอวน มีชุ่ม ไม่มีการลงเยาะเพราะเอาเปรียบคนอื่น แม้แต่ใส่รอบก็ไม่ใส่ กฎกติกาของชุมชนที่รับรู้ร่วมกัน เพราะว่าชุมชนในพื้นที่มีวัฒนธรรมร่วมกันคือจะไม่มีใครลงหาปลาก่อนถึงวัฒนธรรมการหาปลาหมู่ในฤดูกาลที่กำหนด แต่ก่อนจะไม่มีใครแหกกฎถือว่าเข้าใจร่วมกันในทุกปี ห้วยเสนงแต่ก่อนฤดูแล้งจะเข้าฤดูฝนปลามันจะเบื่อน้ำหรืองอมน้ำ มันจะขึ้นมาลอยบนผิวน้ำ ในตอนเช้าลักษณะเหมือนเมาน้ำและเวลาอากาศครึ้มฟ้าครึ้มฝนปลาก็จะเป็นลักษณะเบื่อน้ำหรืองอมน้ำเหมือนกัน แต่พอเวลาแดดแรงมันก็จะหายลงไปในน้ำ เพราะปลาสมัยก่อนมันเยอะ ป่าริมน้ำก็จะใช้ประโยชน์เป็นฟืนหุงข้าวด้วย
ปัจจุบันพื้นที่หลังบ้านพ่อมูล เลี่ยมดี เป็นที่เดียวของตำบลตาเบา อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ เป็นพื้นที่ในการเรียนรู้เรื่องการจัดการป่าริมน้ำ เพราะเหตุผลอย่างเดียว คือไม่ให้ขุดลอกลำห้วยในพื้นที่ ของพ่อมูล เลี่ยมดี
แล้วตอนนี้บทเรียนของพ่อมูล เลี่ยมดี น่าจะบอกคนที่จะเข้ามาขุดลอกลำห้วยเสนงได้เป็นอย่างดี ว่าชุมชนสามารถกำหนดอนาคตของตนได้
ผู้เขียน : คุณเชษฐา สง่าพันธ์ วันอาทิตย์ที่ ๒๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๑