ลำน้ำ ฟื้นฟู และการพัฒนา
ต้องเริ่มจากวิถีชีวิตของคนในชุมชนคนลุ่มน้ำห้วยเสนง
โดย เชษฐา สง่าพันธ์
ฤดูแล้งลำน้ำห้วยเสนงจะแห้งขอด สบกับสีเขียวของใบยูคาลิปตัส ที่ปลิวไสวอยู่เหนือน่านน้ำของลำห้วยเสนง ในช่วงฤดูแล้งเป็นลำห้วยที่ตาย เพราะไม่ค่อยมีการใช้ประโยชน์ ไม่เห็นวิถีชีวิตคนกับลุ่มน้ำที่สัมพันธ์กัน เห็นแต่วิถีของสัตว์เลี้ยงที่ใช้ห้วยเสนงเป็นสถานที่รื่นเริง
ห้วยเสนงที่กล่าวถึง บ่งบอกถึงความอุดมสมบูรณ์หายไป ที่พูดมาเป็นห้วยเสนงตรงบริเวณตำบลตาเบา จำเพาะลงอีกตั้งแต่บริเวณบ้าน กระเพอโร บ้านโชค บุเจก ตาเตียว ภูมิสตึง จบก ตระคล้อ ขึ้นตำบลตาเบา อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์
ห้วยเสนงตรงนี้ผมมักเรียกว่า ห้วยเสนงตอนกลาง หรือกลางน้ำ ห้วยเสนงตรงนี้ในอดีตตามที่ผู้เฒ่าผู้แก่เล่าให้ฟัง “ห้วยเสนงตรงนี้มีความอุดมสมบูรณ์มากทั้งป่าริมน้ำที่มีแต่ต้นไม้ใหญ่ และเป็นสถานที่ทางพิธีกรรม และเป็นสถานที่ทำมาหากินของคนในชุมชนและชุมชนใกล้เคียง ความอุดมสมบูรณ์ของลำห้วยในอดีต ทั้งป่าริมน้ำเต็มไปด้วย พืช ผัก ลำห้วยในอดีตเป็นลำห้วยขนาดเล็ก แต่ลึกมากประมาณ 2-3 ช่วงคน
ช่วงการขุดลอก (พ.ศ.2537-2538) การขุดลอกคือการกั้นทำทบดินของชาวบ้าน ในพื้นที่กลางน้ำจะมีทำนบเยอะ ประมาณ 10 อัน จึงทำให้ลุ่มน้ำตื้นเขิน สาเหตุที่ชาวบ้านกั้นน้ำเพราะต้องการน้ำในการทำนา แต่ผลสะท้อนกลับก็คือ แหล่งน้ำตื้นเขิน และแห้งมาก แต่สิ่งที่อุดมสมบูรณ์คือป่าริมน้ำหายไป การเข้ามาของนโยบายการขุดลอกก็จะมาบอกผู้ใหญ่บ้านไม่ผ่านการประชาคมของชาวบ้าน การขุดลอกเขาจะเอาป่าริมน้ำออกก่อน และต้นไม้ที่อยู่ใกล้ลำน้ำก็หายหมด และก็สร้างฝายให้ชาวบ้านเป็นผลตอบแทน
“ในช่วงนั้นก็คือรักษาต้นไม้ไว้รักษาทรัพยากรไว้ แต่ก็เสียต้นไม้ให้กับรถหลายต้นมีแต่ต้นใหญ่ๆเพราะช่วงที่เขาเข้ามาขุดลอกไม่ได้อยู่ การต่อสู้ของพ่อมูลถึงแม้จะไม่ทันทั้งหมดแต่ก็รักษาป่าริมน้ำที่แต่ก่อนมีขนาดเล็ก พ่อมูลเข้ามาเจรจาถึงว่าใครจะรับผิดชอบกับต้นไม้และป่าริมน้ำทำให้บริเวณบ้านพ่อมูลถูกชะงักลง เว้นเพียงบ้านพ่อมูลประมาณ 200เมตร เป็นนโยบายจากจังหวัด และผู้แทนราษฎร์ในอำเภอปราสาท” นี่คือคำบอกเล่าจากพ่อมูล เลี่ยมดี ผู้ต่อสู้เพื่อป่าริมน้ำห้วยเสนง
การสูญหายของป่าริมน้ำจากการพัฒนาที่จะช่วยชาวบ้านเปลี่ยนป่าที่ปลาอยู่ขยายพันธ์เป็นปลาที่ปลาหวาดกลัว ป่าริมน้ำที่กลางน้ำเปลี่ยนเป็นยูคา ผลกระทบจากต้นยูคา เดี๋ยวนี้ชาวบ้านรับรู้เกี่ยวกับผลกระทบ มีคนเข้ามาบอกว่ามันเปลืองเนื้อที่ และรัศมีการทำลายดินกว้างและกินอาหารเก่ง และทำลายที่เพาะพันธ์ของปลา เพราะปลาจะวางไข่ในใต้รากไม้ที่อยู่ในน้ำ แต่ก่อนก็จะเป็นรากไม้พุ่มที่อยู่ริมน้ำ พอมาเปลี่ยนเป็นรากยูคาลิปตัสที่มีกลิ่นเหม็นปลาก็ไม่มาวางไข่ และอีกอย่างหนึ่งคือใบของยูคาลิปตัสก็มีการย่อยสลายยากและใบยูคาลิปตัสเมื่ออยู่ในน้ำก็จะสะท้อนแสงทำให้ปลากลัวจึงไม่มีปลาอยู่ในบริเวณที่มีต้นยูคาลิปตัสนี่เป็นแค่ส่วนหนึ่งที่มีผลกระทบอย่างเห็นได้ชัด
จะเห็นแนวทางและกระบวนการทำงานได้จาก การปาถกฐา ของพระครูโสภณบุญกิจ รองเจ้าคณะอำเภอปราสาทกิจกรรมสร้างรังให้ปลา ปลูกป่าเพื่อแผ่นดินวันที่ 28 กันยายน 2550 ณ บ้านบุกเจก(ห้วยเสนงตอนกลาง) ต.ตาเบา อ.ปราสาท จ.สุรินทร์ ลำน้ำห้วยเสนงเป็นแหล่งน้ำที่มีต้นกำเนิดมาจากเขาแหลม ต.แนงมุด อ.กาบเชิง ลำน้ำสายนี้ไม่ได้ใช้ประโยชน์เฉพาะบ้านเรา กลางลำห้วยตรงนี้ แต่คนในเมืองก็ใช้น้ำจากลำห้วยเสนงด้วย ดังนั้นการช่วยกันอนุรักษ์สายน้ำก็เป็นไปเพื่อประโยชน์ของทุกคนทุกท่าน ทุกวันนี้ห้วยเสนงเริ่มเน่าเสีย ตื้นเขินและลดความอุดมสมบูรณ์ของพืชพันธุ์และสัตว์น้ำ เนื่องจากมีการปล่อยน้ำเสียลงสู่ห้วยเสนงมากขึ้น และลำห้วยถูกขุดลอกทำให้ป่าริมห้วยหมดไปไร้แหล่งอนุบาลสัตว์น้ำและยึดหน้าดินไว้ ซึ่งพวกเราในที่นี้ได้เห็นปัญหาตรงจุดนี้ จึงอยากทำอะไรให้สายน้ำห้วยเสนงฟื้นคืนป่าไม้และสัตว์น้ำ เพื่อสร้างมีชีวิตใหม่ให้กับลำน้ำห้วยเสนง
“การอนุรักษ์สายน้ำก็คือการอนุรักษ์ชีวิต เพราะสิ่งมีชีวิต ไม่ว่า คน สัตว์ หรือพืช ล้วนมีชีวิตอยู่ได้ก็ด้วยน้ำทั้งสิ้น ดังนั้นการทำบุญอนุรักษ์สายน้ำครั้งนี้ก็เพื่อสืบชะตาสายน้ำให้คงอยู่ ซึ่งการฟื้นฟูต้องร่วมมือกันทุกคน ไม่ว่าคณะกรรมการเครือข่ายอนุรักษ์ลุ่มน้ำห้วยเสนง ผู้ใหญ่บ้าน ตลอดจนประชาชนทั่วไป เนื่องจากว่าลำห้วยเสนงไม่ใช่สมบัติของใครคนใดคนหนึ่ง เป็นสมบัติของส่วนรวม ต้องช่วยกันดูแลรักษาให้สมบูรณ์เหมือนเดิม หากว่าไม่เริ่มทำการอนุรักษ์เสียแต่ตอนนี้ ไม่ช้าไม่นานก็จะเสื่อมโทรมแน่นอน จึงควรเริ่มร่วมแรงร่วมใจดูแลรักษาลำห้วยเสนงเสียแต่วันนี้เป็นต้นไป”
นี่ใช่หรือไม่ คือ คน ลุ่มน้ำ ฟื้นฟู และการพัฒนา ต้องเริ่มจากวิถีชีวิตของคนในชุมชน
ผู้เขียน : คุณเชษฐา สง่าพันธ์ วันจันทร์ที่ ๒๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๑